วันนี้จะมาเเนะนำอุปกรณ์ที่มีประโยชน์ ติดตั้งง่าย ราคาไม่เเพง มาเเนะนำ .... นั้นคือ เกจวัดแรงดันน้ำ
การติดเกจเพื่อเช็คแรงดัน ทำให้เราทราบเเรงดันน้ำประปาที่เข้าตัวบ้านมีเเรงดันเท่าไร ไม่ต้องมาค่อยนั้งเดาวัดตามความรู้สึก หากอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านทำงานผิดปกติ เราก็สามารถรู้ได้ทันทีว่า เกิดมาจากเเรงดันน้ำที่ต่ำ หรือ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า(ที่ต้องการเเรงดันน้ำประกอบการทำงาน)มีปัญหากันเเน่ไม่ต้องเสียเวลาเรียกช่างมาเดาให้อีกต่อไป
หลายท่านอาจจะเคยเจอปัญหานี้ เครื่องทำน้ำร้อนซื้อมาใหม่ เสียรึเปล่า ทำไมถึงทำงานบ้างไม่ทำงานบ้าง เสียเวลาเสียเงินเรียกช่างมาตรวจสอบว่าสาเหตุมาจากอะไร พอช่างมาเช็คก็ปกติทุกอย่างเครื่องทำงานเรียบร้อย พอช่างกลับจะอาบน้ำก็ใช้ไม่ได้อีกเเล้ว
ยกตัวอย่างที่เจอมากับตัวเลยครับ เครื่องทำน้ำร้อน Panasonic 8000w ต้องการเเรงดันน้ำขั้นต่ำที่ 0.45 กก / ตร ซม
ตีคราวๆคือ ถ้าเเรงดันน้ำเข้าเครื่องน้อยกว่า 0.5bar เครื่องทำน้ำร้อนจะไม่ทำงาน
ปกติเเรงดันน้ำประปาทั่วไปจะให้เเรงดันประมาณ 1 - 1.5 bar (เเตกต่างกันในเเต่ละพื้นที่) เเต่บางช่วงเวลาที่มีคนใช้น้ำประปามาก เเรงดันน้ำในท่อประปาก็จะตกลงต่ำพอต่ำกว่า 0.5bar ทำให้เครื่องไม่ทำงานเนื่องจากเเรงดันน้ำไม่พอเครื่องทำน้ำร้อนก็เลยไม่ทำงาน
พอเราไม่รู้ก็เข้าใจว่าเครื่องมีปัญหา เสียเวลาเสียอารมณ์ เรียกช่างมาตรวจสอบ พอช่างมาตรวจเครื่องก็ดันปกติ เพราะช่างมักจะมาตรวจตอนกลางวัน ซึ่งไม่ค่อยมีคนใช้น้ำ เเรงดันน้ำประปาเลยเเรง เครื่องจึงทำงานปกติ เเต่พอตอนเย็นจะอาบน้ำเครื่องก็งอเเงไม่ทำงาน เราก็เข้าใจว่าเครื่องเสียน่าจะมีปัญหา .... เเต่หากติดตั้งเกจเพื่อวัดเเรงดันก็จะช่วยให้เราทราบได้ทันทีว่าเป็นเพราะเเรงดันน้ำในท่อไม่พอทำให้เครื่องทำน้ำอุ่นของเราไม่ทำงาน
หรือ บางท่านติดตั้งเรนชาวเวอร์ (Rain Shower) เเต่มีปัญหาเรื่องน้ำไหลน้อย บางท่านก็เข้าใจว่าเเรงดันน้ำที่บ้านไม่พอทั้งที่ติดตั้งปั๊มไว้ พอเปิดวาล์วเช็คดูไม่มีอะไรอุดตัน ก็เข้าใจว่าปั๊มน้ำเสีย เเต่ความจริงอาจะเกิดจากวาล์วยางรูเล็กภายในอีกตัวทำให้น้ำไหลออกน้อย เพราะผู้ผลิตต้องการลดปริมาณน้ำออกเพื่อให้ผ่านมาตราฐานอุตสาหกรรม(เพื่อให้ได้รับเครื่องหมาย มอก.) วิธีเเก้ก็เเค่ถอดวาล์วรูปเล็กออกน้ำก็จะออกมากอย่างที่ต้องการ
(ยืมรูปภาพจาก: นายสันทัด pantip อินเตอร์เน็ต // ขอบคุณครับ)
การติดตั้งเกจวัดเเรงดันน้ำ มีหลายเกรดหลายราคาครับ เราไม่ได้ต้องการความเที่ยงตรงมาก เลือกเเบบธรรมดา ราคาก็ 100 ต้นๆก็พอครับ ที่ผมซื้อมารวมอุปกรณ์ต่างๆก็ไม่เกิน 300 บาทครับ (เกจวัดเเรงดันน้ำ / เกลียวเเปลงเข้ากับท่อ PVC / ท่อPVC สำหรับติดเข้ากับท่อน้ำ/ กาวประสานท่อ / เทปขาว) สามารถทำได้เองง่ายๆ
การเลือกจุดติดตั้ง เเนะนำในติดตั้งหลังท่อน้ำออกจากปั๊ม เเละ หลังเช็ควาล์ว สำหรับน้ำที่เข้าตัวบ้านครับ ตัดเเล้วต่อเข้ากับท่อ PVC ได้่เลยครับ
อุปกรณ์ทั้งหมด หาซื้อได้ตามร้านที่ขายอุปกรณ์ก่อสร้างทั่วไปได้เลย (ในรูปข้อต่อ3ทางเเบบเกลียวหมด เลยต้องใช้ข้อต่อเกลียวตรงมาใช้เเทนครับ)
อุปกรณ์ทั้งหมด หาซื้อได้ตามร้านที่ขายอุปกรณ์ก่อสร้างทั่วไปได้เลย (ในรูปข้อต่อ3ทางเเบบเกลียวหมด เลยต้องใช้ข้อต่อเกลียวตรงมาใช้เเทนครับ)
เเค่นี้คุณก็จะได้รู้ว่าเเรงดันน้ำที่ไหลเข้าบ้านของคุณมากหรือน้อย ทำให้เวลาเกิดปัญหาสามารถหาคำตอบได้ง่ายขึ้น ช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆที่ต้องใช้เเรงดันน้ำได้อย่างเหมาะสมกับบ้านของคุณได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องมานั้งเดา หรือ วัดใจ ว่าซื้อมาเเล้วเเรงดันน้ำที่บ้านจะพอรึเปล่า เเละ หากเเรงดันน้ำน้อยมากก็เป็นหลักฐานไว้อ้างอิงต่อการประปาในพื้นที่ให้เข้ามาตรวจสอบเพื่อปรับเพิ่มเเรงดันในอนาคตได้ด้วยครับ
เเถมอีกนิด ตอนตัดท่อ ระวังตะกอนเข้าไปติดในอุปกรณ์ต่างๆเนื่องจากการติดตั้งระบบน้ำที่ไม่เรียบร้อย ทำให้อาจมักจะมีเศษตะกอนมาอุดตันอุปกรณ์อื่นๆได้นะครับ
ตะกอนที่พบส่วนใหญ่มักเกิดจากการตัดต่อท่อโดยใช้เลื่อย เเล้วไม่ได้ทำความสะอาดเอาเศษพลาสติกออกให้เรียบร้อยก่อนต่อท่อ ทำให้เศษพลาสติกไหลไปอุดตันเครื่องใช้ต่างๆ การตัดท่อประปาที่ดีควรจะใช้กรรไกรสำหรับตัดท่อประปาตัด เพราะจะไม่ทำให้เกิดเศษพลาสติกเหมือนเลื่อย เเละ เนื้องานยังเรียบร้อยกว่ามากเเนะนำให้ซื้อไว้ครับ ราคาไม่เเพง เก็บไว้ใช้ได้นานด้วยครับ
ท่อด้านซ้าย : ตัดโดยใช้ใบเลื่อย จะเห็นได้ว่ามักจะมีเศษพลาสติกติดอยู่ในท่อ ควรให้ช่างทำความสะอาดให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันการอุดตัน
ท่อด้านขวา : ตัดโดยใช้กรรไกรตัดท่อ งานเรียบร้อยกว่ามาก เเละ ไม่มีเศษพลาสติกตกค้าง
******* เพิ่มเติม *******
สำหรับใครที่ใช้ระบบปั๊มน้ำ 2 ระบบ การติดตั้งเกจวัดเเรงดันทำให้เราไม่จำเป็นต้องเปิดปั๊มน้ำเพื่อทำงานตลอดเวลา ทำให้ช่วยประหยัดไฟฟ้าได้อีกทางครับ
การติดตั้งเกจวัดความดันที่เเนะนำคือ บริเวณท่อที่น้ำจะเข้าสู่ตัวบ้าน(หลังเช็ควาล์ว เเละ หลังปั๊ม)ครับ การติตั้งในจุดนี้จะทำให้เราเห็นเเรงดันน้ำที่เข้าตัวบ้านได้ชัดเจนที่สุด เเต่หากระยะการเดินท่อยาว หรือ มีการดันขึ้นที่สูง เเรงดันก็จะลดลงตามระยะทาง เเละ ความสูง ดั้งนั้นหากบ้านมีมากกว่าสองชั้น หรือ ติดตั้งห่างจากตัวปั๊มมาก ก็สามารถติดตั้งเกจวัดเเรงดันเพิ่มเติมได้ตามจุดที่ต้องการทราบเเรงดันน้ำครับ
เเละ ขอขอบคุณคุณ Chanachai Chimklang ที่ช่วยเเนะนำเเก้ไขชื่อเรียกจากวาล์ววัดเเรงดัน เป็น เกจวัดเเรงดัน ด้วยนะครับ
หากใครเจอข้อผิดพลาด หรือ มีคำเเนะนำเพื่อช่วยปรับปรุงบทความให้ถูกต้อง เเละ ชัดเจนขึ้นได้ สามารถเเจ้งเข้ามาได้เลยนะครับ เพื่อประโยชน์กับเพื่อนสมาชิกครับ
หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ _/\_
ทีมงาน Water Timer Review
สงสัย-สอบถาม-แนะนำ-ปรึกษา เพิ่มเติมได้ทาง
Line : @watertimer
ตอบทุกข้อความ แต่อาจจะตอบกลับช้าหน่อยนะครับ
(10.00น. – 22.30น.) ขอบคุณครับ _/\_
อ่านบทความอื่นๆที่น่าสนใจทั้งหมดได้ที่ www.watertimerreview.com/article
Fanpage : WaterTimerReview
ได้เลยนะครับ _/\_
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น