วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559

วิธีติดตั้งหัวพ่นหมอก ลดความร้อน กรองฝุ่น เองง่ายๆ ในราคาหลักร้อย

ช่วงวันหยุดที่ผ่านมา พึ่งจะได้มีเวลาอยู่บ้านตอนกลางวันนานๆ ปรากฏว่าร้อนมากครับ ไปนั้งเล่นนอกบ้านไม่ได้เลย เลยลองทำระบบพ่นหมอก เผื่อจะได้ช่วยลดความร้อนเป็นหลัก ส่วนเรืองช่วยกรองฝุ่น หรือ เพิ่มความชื้นในอากาศ ถือว่าเป็นผลพลอยได้ครับ ... หลังจากติดตั้งเเล้วเห็นผลเเล้ว ถือว่าคุ้มค่ากับเงิน เเละ เวลาที่ลงทุนทำไปครับเลยเขียนรีวิวนี้มาเเนะนำกันต่อ 

วิธีติดตั้งหัวพ่นหมอกที่เเนะนำจะเป็น "เเบบประหยัด" หลายคนอาจมองว่าการเดินระบบพ่นหมอกนั้น เเพง ยุ่งยาก อย่างว่าครับ ของดี คุณภาพสูง สเป็คสูง ราคาก็สูงตามไปด้วยอันนี้ตามหลักเหตุผลเลยครับ  เเต่ถ้าเราลดสเป็คความต้องการลง เอาเท่าที่จำเป็น บทความนี้อาจจะทำให้คุณเห็นอีกมุมว่า ไม่ได้ยุ่งยาก ไม่ได้เเพง เเละ คุณเองก็สามารถทำเองได้ (เเต่คุณต้องมั่นใจก่อนนะครับว่ารับได้ในข้อจำกัด ที่จะพูดถึงต่อไป)



ขอเริ่มที่ ข้อจำกัดของระบบที่จะเเนะนำก่อนเลยนะครับ
(ใครรับข้อจำกัด เงี่อนไขเหล่านี้ไม่ได้จะได้ไม่เสียเวลาอ่านต่อครับ)
 เนื่องจากเราจะไม่ใช้ปั๊มเเรงดันสูง(ไฟฟ้า)ช่วย ทำให้ละอองน้ำที่ออกมาจะไม่มีเเรงดันสูงพอที่จะทำให้ละอองละเอียดมาก เเละ ทำให้จำนวนจุดติดตั้งจะไม่มากเหมือนกับระบบที่มีปั๊มเเรงดันสูงช่วยนะครับ  ถ้าคุณรับได้ ยินดีด้วยครับ คุณได้ไปต่อ 

เเละเนื่องจากเราไม่ใช้ปั๊มเเรงดันสูงช่วยทำให้จำนวนจุดติดตั้งไม่ควรเกิน
- น้อยกว่า 10 จุด (สำหรับน้ำประปาปกติ)
- น้อยกว่า 20 จุด (สำหรับบ้านที่มีปั๊มน้ำอัตโนมัติช่วย)  
- ระยะการเดินท่อ ยิ่งยาว เเรงดันยิ่งลดลงนะครับ ไม่ควรเดินยาวเกินไป 
เพราะเราต้องอาศัยเเรงดันน้ำในการอัดผ่านหัวพ่นเป็นละอองละเอียดที่สุด ถ้าจำนวนจุดเยอะเกิน เเรงดันไม่พอ จากหัวพ่นหมอก จะกลายเป็นเหมือนน้ำรั่วหยดนะครับ ต้องย้ำกันไว้อีกที 

โอเค .... มาถึงตรงนี้เเล้ว ใครยังรับได้กับเงื่อนไข ลุยกันต่อครับ

มาต่อกันที่อุปกรณ์ก่อนนะครับ อุปกรณ์ที่จะใช้ 
1. หัวพ่นหมอก -- อันนี้เเล้วเเต่ชอบเลยครับ มีหลายรุ่นให้เลือก หลักสิบ ถึง หลักร้อย ตามความละเอียดของหัวพ่นกับวัสดุ อย่างที่บอกครับเราไม่เน้นความละเอียดมาก ใช้เเบบพลาสติกก็พอครับ ส่วนจะเลือกเเบบไหน เเล้วเเต่ชอบเลยครับ   
2. ตัวเจาะ -- ใครไม่มีใช้หัวไขขวง หรือ ตะปูเจาะก็ได้ ไม่จำเป็นขนาดที่ต้องซื้อครับ
3. ท่อ PE เเละ ข้องอ  -- ความยาว เเละ จำนวน คำนวณเอง เเนะนำให้ซื้อเผื่อเลยนะครับ เหลือ ดีกว่าขาด (ท่อ PE ผมใช้ขนาด 20มมครับ)  
4. Cable tie(หนวดกุ้งรัดสายไฟ) หรือ ลวด  เอาไว้รัด ยึด ให้เเน่นครับ  
5. ข้อต่อ สำหรับติดท่อ PE เข้ากับก๊อกสนาม // หรือ จะยัดท่อPE เข้ากับหัวก๊อกเลยก็ได้ครับ 
6. คีม อันนี้ตัวช่วยในการยัดหัวพ่นเข้ารูที่เจาะครับ จะได้ไม่เจ็บมือมาก 
7. สมอบก สำหรับยึดท่อ PE กับพื้นดิน 
8. เทปกาว สำหรับช่วยเก็บงาน 

ราคาอุปกรณ์ที่ผมใช้ในการทำครั้งนี้ (คำนวณจากราคาปลีก เเยกขาย)
1. หัวพ่นหมอก เเบบพลาสติกที่ผมใช้ ตัวละประมาณ 20 บาทครับ 7 ตัว = 140 บาท (มีหลายเกรดนะครับ เลือกดูเอาตามที่ถูกใจเลยครับ)
2. ท่อPE ผมใช้ขนาด 20มม ถ้าซื้อเเบ่งขายก็ไม่เกิน 20บาท ต่อเมตรครับ ใช้ไป 15 เมตร = 300 บาท 
3. ตัวข้องอท่อ PE ตัวละไม่เกิน 10 บาทครับ ใช้ไป 5 ตัว 50 บาทครับ
รวมอุปกรณ์ที่จำเป็น 490 บาท 
 มาถึงอุปกรณ์ที่ไม่ค่อยจำเป็น เเต่ถ้าจะซื้อไว้ก็ดีครับ งานสวยขึ้น เรียบร้อยขึ้น
4. ตัวเจาะ ถ้าซื้อก็ไม่เกิน 100 บาท ครับ เเล้วเเต่ยี่ห้อ 
5. Cable tie(หนวดกุ้งรัดสายไฟ) อันนี้ซื้อเป็นห่อครับ ขนาดตามรอบของสิ่งของที่เราจะเอาไปยึดติด เเบบยาวที่ผมใช้ ห่อละไม่เกิน 100 บาท มีร้อยกว่าเส้นครับ 
6. ข้อต่อเกลียวสำหรับเชื่อมท่อ PE เข้ากับก๊อกสนาม หรือ เครื่องตั้งเวลา ตัวนี้ผมซื้อตัวเเปลงมาไม่เกิน 40 บาทครับ 
7. คีม อันนี้คิดว่าน่าจะมีกันอยู่เเล้ว เเต่ถ้าใครไม่มี หายืมไม่ได้ ก็หาซื้อคีมถูกๆมาเเก้ขัดก็ได้ครับ 50 บาทก็สบายขึ้นเยอะ
8. สมอบก ตัวละไม่เกิน 20 บาทครับ ผมใช้ไป 3 ตัว 60 บาทครับ
9. เทปกาว ผมเลือกใช้สีดำเหมือนท่อ PE ครับ 20 บาท 
รวมอุปกรณ์ที่จำเป็น เเละ ไม่จำเป็น 820 บาท ครับ 
สินค้าทั้งหมดมีขายตามห้างขายวัสดุก่อสร้าง ชั้นนำทั่วไปครับ Home Pro / Home Mall / etc... 
 **** เราจำหน่ายเฉพาะเครื่องตั้งเวลารดน้ำนะครับ อุปกรณ์อย่างอื่น เเนะนำหาซื้อได้ตามร้านวัสดุก่อสร้างชั้นนำ ได้เลยครับ ****

วิธีทำ ติดตั้ง เเละ เทคนิคที่ใช้ 
>>> ก่อนจะมาขั้นตอนนี้คุณต้อง วัดระยะ กับ คำนวณอุปกรณ์ที่จะใช้เรียบร้อยเเล้ว ก่อนไปซื้อนะครับ <<<

เริ่มจากเตรียมท่อ PE ครับ ... สิ่งที่น่ารำคาญที่สุดเกี่ยวกับท่อ PE คือ มันจะโค้งงอ ตามที่ร้านขดม้วนมาให้  วิธีง่ายที่สุด คือ นำท่อ PE ไปตากเเดดสักพัก มันจะเริ่มคลายตัว ประเทศไทยเราอยู่ใกล้พระอาทิตย์ครับ ไม่เกิน 10 นาที คราวนี้ดัดให้ตรงง่ายขึ้นเยอะครับ

หลังจากนั้นเอาด้านท้ายมาพับทบไม่ให้น้ำออก ความจริงมันจะมีตัวปิดท้ายขาย เเต่ผมไม่ชอบเพราะมันไม่เรียบ เลยใช้วิธีพับ มัดลวด เเล้ว เอาเทปดำ ปิดทับอีกทีเรียบกว่าเยอะ

วางท่อ PE ตามเเนวที่เราต้องการติดไว้กับพื้นก่อน วัดระยะเจาะรูตามที่ต้องการ (ผมเว้น 60เซนติเมตร) เเล้ว ติดหัวพ่นเเบบที่เราชอบ ตามองศาที่เราต้องการ 


เจาะรูเสร็จเเล้วก็เอาคีม จับหัวพ่น กดลงเข้ารูตามที่เราเจาะไว้ครับ 


นำท่อ PE ที่ติดหัวพ่นเรียบร้อยเเล้ว ยึดติดกับจุดที่เราต้องการ จะใช้ลวด หรือ Cable tie เเล้วเเต่กำลังทรัพยเลยนะครับ ผมใช้ Cable tie สีดำ เข้ากับเหล็กสีดำ อยากให้ดูเรียบร้อยขึ้น 

ติดตั้งข้อต่อต่างๆให้เรียบร้อย เนื่องจากเราใช้หัวพ่นหมอก เเรงดันในท่อจะสูงทำให้ต้องรัดข้อต่อกับท่อ PE ให้เเน่นด้วยนะครับ ผมใช้หนวดกุ้งเหมือนเดิมครับ(รัดให้เเน่นเสร็จเเล้วตัดเก็บสายให้เรียบร้อยด้วยนะครับ ) ใครจะใช้ลวดรัดก็ได้ครับไม่ผิดกฎหมายเเต่ลวดเวลาใช้ไปนานๆเเล้วมันจะชอบเป็นสนิมนะครับ 

จุดที่เดินเรียบกับพื้นดิน ผมใช้สมอบกยึดไว้ครับ หน้าตาเจ้าสมอบกสำหรับยึดท่อ PE กับดินครับ(เลือกซื้อให้ถูกขนาดกับท่อ PE นะครับ) ใครจะฝังในดินซ่อนท่อก็เอาที่สะดวกได้เลยครับ

ใครจะต่อท่อ PE เข้ากับก๊อกสนาม เเล้วใช้วิธีเปิดปิดเองก็ทำได้ หรือ จะติดตั้งเข้ากับเครื่องตั้งเวลาเปิด-ปิดน้ำ ก็ใช้ข้อต่อตัวเเปลง 3/4" กับ ท่อ PE เเล้วประกอบร่างได้เลยครับ

ผมเลือกติดกับเครื่องตั้งเวลาระบบโซลินอยวาล์ว ดิจิตอล ตั้งเวลาเปิดปิดได้ 8 โปรเเกรม ตั้งให้เปิดน้ำช่วงกลางวัน ครั้งละ 1-2 นาที เพื่อลดความร้อนบริเวณรอบบ่อปลา รู้สึกได้ว่าเย็นขึ้นเยอะครับ :)
เสียดายถ่ายรูปมุมกว้างถ่ายออกมาเเล้วไม่ค่อยเห็นหมอกเท่าไร ><" รูปที่ถ่ายนี้ไม่ได้เปิดปั๊มน้ำอัตโนมัติช่วยนะครับ เเรงดันน้ำประปาช่วงบ่ายอย่างเดียว(ดูเเรงดันจากเกจวัดอยู่ที่ประมาณ 1.5bar ครับ)
เวลาที่ใช้ติดตั้งทั้งหมด ทำคนเดียว ถ้าอุปกรณ์พร้อมใช้เวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมงครับ เเค่นี้คุณก็สามารถมีระบบพ่นหมอกเเบบประหยัด ลดไอร้อน ลดฝุ่น เพิ่มความชื้นบริเวณที่ต้องการ ในราคาที่ไม่สูงเกินได้เเล้วครับ ^^

คำเเนะนำเพิ่มเติม
 - หัวพ่นหมอก จำเป็นต้องใช้น้ำสะอาดเท่านั้น เพราะรูพ่นน้ำมีขนาดเล็กมาก อุดตันได้ง่ายมาก หากน้ำมีตะกอนมาก ควรติดตั้งตัวกรองก่อนนะครับ ไม่งั้นต้องได้เปลี่ยนหัวพ่นบ่อยเเน่ๆ
 - ย้ำกันอีกรอบ ระบบพ่นน้ำที่เเนะนำ เน้นประหยัดเเละทำได้เอง เพราะฉนั้นความละเอียดของละอองน้ำที่ออกมา เปียกได้ จะไม่ละเอียดเหมือนระบบที่มีปั๊มเเรงดันสูงควบคุมการทำงานด้วยระบบไฟฟ้า ท่อเเละข้อต่อทำจากอลูมิเนียมทนเเรงดันสูงไม่เป็นสนิม หัวพ่นทำจากทองเหลืองให้ละอองเล็กสะใจนะครับ 
 - พยายามหลีกเลี่ยงการเดินสายเป็นระยะทางไกลๆ เเละ มีจุดเชื่อมต่อมาก ท่อ PE เวลาโดนความร้อนเเล้วจะอ่อนตัว หากไม่รัดให้เเน่นเเรงดันน้ำจะดันท่อให้หลุดได้ เพราะฉนั้นเเนะนำให้รัดข้อต่อทุกจุดให้เเน่นเลยนะครับ จะได้ไม่ต้องมานั้งเเก้ทีหลัง
 - จะเปลี่ยนจากระบบพ่นหมอก เป็นสปิงเกอร์พ่นน้ำบนหลังคาเเทนก็ได้นะครับ ถ้าเน้นเรื่องลดความร้อนในตัวบ้าน ปรับใช้กันตามสะดวกได้เลยครับ  
  
สำหรับใครที่ต้องการจำนวนหัวพ่นหมอกมาก เเละ ละอองน้ำละเอียดกว่านี้ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ชุดพ่นหมอกเเรงดันต่ำปั๊ม 12vDC ได้ที่ : https://www.watertimerreview.com/p/18

สงสัย-สอบถาม-แนะนำ-ปรึกษา เพิ่มเติมได้ทาง
Line : @watertimer
เพิ่มเพื่อน 
 ตอบทุกข้อความ แต่อาจจะตอบกลับช้าหน่อยนะครับ
(10.00น. – 22.30น.)  ขอบคุณครับ _/\_ 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น